วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ    การประสาน ประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแล้วยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆของตน อ่านเพิ่มเติม



ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international relations)หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออกอ่านเพิ่มเติม




สิทธิมนุษยชน

 สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาคอ่านเพิ่มเติม



ข้อตกลงระหว่างประเทศ

 แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับชั้นโอโซน
          ปัญหาการถูกทำลายของชั้นโอโซนได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายโดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติิ(United Nations Environment  Programme,  UNEP) 
ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องชั้นโอโซน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เช่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) 
รับผิดชอบเรื่องแผนวิจัยด้านบรรยากาศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์กรเอกชน (NGO) 
ต่อมาจึงกลายมาเป็นปฏิบัติการระหว่างประเทศที่จะควบคุมสารซีเอฟซี ( CFCs)  อ่านเพิ่มเติม

กฎหมาย

  กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้[1] กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย อ่านเพิ่มเติม

ฐานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์

  ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้  และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ
3. ทรงเป็นพุทธมามกะ  และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์  และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อ่านเพิ่มเติม



ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy[2]) ไว้ในคำเดียวกัน

สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"  อ่านเพิ่มเติม


คุณลักษณะพลเมืองดี

คุณลักษณะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับของสังคม
เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน  ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ 
นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
2.เป็นผู้มีเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทุกคนย่อมมีอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ซึ่งอ่านเพิ่มเติม


พลเมืองดี

การเป็นพลเมืองดี
1.การอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี โดยเริ่มตั้งแต่การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีต่อครอบครัวและโรงเรียนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในอนาคตต่อไป
2.คนทุกคนมีความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันไป การใช้ความสามารถในด้านที่ตนมีอยู่เพื่อกระทำความดี จะส่งผลให้ตนเองเป็นผู้มีจิตใจที่ดี เป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  อ่านเพิ่มเติม


                                        


ความแตกต่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
      ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยม
เนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้       การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อ่านเพิ่มเติม



วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม

วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง อ่านเพิ่มเติม



ปัญหาสังคมไทย

ปัญหาสังคมไทย
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาสังคม
1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น 
2. เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม อ่านเพิ่มเติม



ลักษณะสังคมไทย

ลักษณะสังคมไทย
1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวมๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม
2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร
3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ
4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบท อ่านเพิ่มเติม



วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ ในสังคมปรับตัวเองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทาง วัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา ทั้งนี้ก็ เพราะแต่เดิมสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในชนบทที่มีการทำนา และการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก การผลิตแต่ เดิมก็เป็นแต่เพียงให้พอมีพอกิน ไม่ได้ผลิตอย่าง ใหญ่โตเพื่อส่งออกไปค้าขายกับต่างประเทศ จึงไม่มีความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี แต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติม


โครงสร้างทางสังคม

โครงสร้างทางสังคมและลักษณะของสังคมไทย

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นในสังคมไทย ในแง่ของผลเสีย พบว่า กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกทุกคนในสังคมไทยต้องให้ความร่วมมือ ในการร่วมแก้ไขปัญหา อ่านเพิ่มเติม